เมนู

จัดภัตไว้ให้เป็นประจำ เพื่อภิกษุอาคันตุกะเป็นต้น . ภิกษุอาคันตุกะเป็นต้นจง
รับภัตของข้าพเจ้า ไม่ควรแก่ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์.

[ภัตอีก 3 ชนิด]


ภัตอื่นอีก 3 ชนิดเหล่านี้ คือ ธุวภัต กุฏิภัต วารกภัติ . ในภัต 3
ชนิดนั้น นิตยภัต เรียกว่า ธุวภัต. ธุวภัตนั้น มี 2 อย่าง คือ ของสงฆ์
ของเฉพาะบุคคล 1.
ใน 2 อย่างนั้น ธุวภัตใด อันทายกถวายให้เป็นประจำว่า ข้าพเจ้า
ถวายธุวภัตแก่สงฆ์ ดังนี้ ธุวภัตนั้น มีคติอย่างสลากภัตเหมือนกัน. ก็แล
ธุวภัตนั้น อันทายกบอกถวายว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย จงรับภิกษาประจำของ
ข้าพเจ้า ดังนี้ ย่อมควรแม้แก่ภิกษุทั้งหลายถือปิณฑปาติกธุดงค์.
แม้ครั้นเมื่อธุวภัตเป็นของเฉพาะบุคคล อันทายกกล่าวว่า ข้าพเจ้า
ถวายธุวภัต แก่ท่านทั้งหลาย ดังนี้ ธุวภัตนั้น ไม่ควรแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ถือ
ปิณฑปาติกธุดงค์เท่านั้น. แต่เมื่อเขากล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงรับภิกษาประจำ
ของข้าพเจ้า ดังนี้ ควรอยู่, ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์พึงยินดี.
แม้ถ้าว่าภายหลัง เมื่อล่วงไปแล้ว 2- 3 วัน เขากล่าวว่า ท่านทั้งหลาย
จงรับธุวภัต ภัตนั้นควรแก่ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์ เพราะเป็นของที่เธอรับ
ไว้ดีแล้วในวัน แรก.
ที่ชื่อกุฏิภัต คือภัตที่ทายกสร้างที่อยู่ถวายสงฆ์แล้ว ถวายให้เป็นประจำ
อย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผู้อยู่ในเสนาสนะของพวกข้าพเจ้า จงรับภัต
ของพวกข้าพเจ้าเท่านั้น ดังนี้ กุฏิภัตนั้น มีคติอย่างสลากภัตเหมือนกัน. พึง
ให้ภิกษุทั้งหลายรับมาฉัน.

ก็เมื่อทายกกล่าวว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผู้อยู่ในเสนาสนะของพวก
ข้าพเจ้า จงรับภิกษาของพวกข้าพเจ้าเท่านั้น ดังนี้ กุฏิภัตนั้น ย่อมควรแม้แก่
ภิกษุทั้งหลายผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์ ส่วนกุฏิภัตใด อันทายกเลื่อมใสในบุคคล
แล้วสร้างที่อยู่เพื่อบุคคลนั้น ถวายว่า ข้าพเจ้าถวายแก่ท่าน ดังนี้ กุฏิภัตนั้น
ย่อมเป็นของบุคคลนั้นเท่านั้น ครั้นเมื่อบุคคลนั้น ไปในที่ไหน ๆ เสีย พวก
นิสิตพึงฉันแทน.
ที่ชื่อวารกภัต คือภัตที่ทายกถวายจำเดิมแค่เรือนใกล้ไปว่า พวก
ข้าพเจ้าจักเปลี่ยนวาระกันบำรุงภิกษุทั้งหลาย ในสมัยที่ภิกษาหายาก, แม้วารก
ภัตนั้น ที่ทายกถวายออกชื่อภิกษา ก็ควรแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์
แต่เมื่อทายกกล่าวว่า ถวายวารกภัต ดังนี้ วารกภัตนั้น มีคติอย่างสลากภัต .
ก็ถ้าว่า พวกทายกส่งข้าวสารเป็นต้น ไปให้ว่า สามเณรทั้งหลายจง
หุงต้มถวาย ดังนี้, ภัตนั้น ควรแก่ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์.
ภัตเหล่านี้ 3 กับภัตอีก 4 มีอาคันตุกภัตเป็นต้น รวมเป็น 7 ภัต
7 นั้น รวมกับภัตอีก 7 มีสังฆภัตเป็นต้น จึงเป็นภัต 14 อย่าง ด้วยประการ
ฉะนี้.

[ภัตอื่น 4 อย่างในอรรถกถา]


อนึ่ง ในอรรถกถากล่าวภัต 4 อย่างแม้อื่น คือ วิหารภัต อฏัฐภัต
จตุกภัต คุฬกภัต. ใน 4 อย่างนั้น ที่ชื่อวิหารภัต ได้แก่ภัตที่เกิดแต่กัลปนา
สงฆ์ในสำนักนั้น. สำนักภัตนั้น สงเคราะห์ด้วยสังฆภัต.
อนึ่ง วิหารภัตนั้น ย่อมควรแม้แก่ภิกษุทั้งหลายผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์
ในฐานะทั้งหลายเช่นนั้น เพราะเป็นภัตที่พระขีณาสพผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ใน
ติสสมหาวิหารและจิตตลบรรพตเป็นต้น (เคย) รับ แล้ว อย่างที่เป็นภัตอันภิกษุ